วันที่ 26 พ.ย. นางสาวตรีชฎา ศรีธาดา รองโฆษกพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า หลังจาก พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย กล่าวในงานสัมมนาหนึ่ง ที่ จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2565 ว่า จะไม่ไปต่อทางการเมือง ใช้คำพูดว่า "แก่แล้ว" และ "หมดไฟ" ว่า อยากถาม พล.อ.อนุพงษ์ ว่า เหตุใดเพิ่งมาคิดหมดไฟยามนี้ หลังจากบ้านเมืองเจอวิกฤติอยู่ในสภาพถูกยึดอำนาจ ประเทศร่อแร่มาเป็นเวลา 8 ปี ยังไม่มีทีท่าจะหยุด แต่พอจังหวะขาลงของ 3 ป. กลับทำตัวคล้ายทิ้งเรือแป๊ะเอาตัวรอดใช่หรือไม่ และหาก พล.อ.อนุพงษ์ ให้ความชัดเจนในเส้นทางชีวิตของตัวเองจริงอย่างที่พูด เท่ากับว่า การเมืองสมัยหน้า พี่น้อง 3 ป. จะเหลือแค่ 2 ป. คือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ กับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หรืออาจจะแพแตกไม่เหลือสัก ป. ก็เป็นได้ เพราะถึงขั้นมีการแบ่งข้างแบ่งคนเสมือน ใครรัก พล.อ.ประวิตร ให้เลี้ยวซ้าย รัก พล.อ.ประยุทธ์ ให้เลี้ยวขวา เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นแน่
นางสาวตรีชฎา กล่าวว่า พล.อ.ประวิตร มีความชัดเจนว่า เป็นหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ และจะลงสนามเลือกตั้งครั้งหน้า แต่ พล.อ.ประยุทธ์ ยังสร้างความสับสนอยู่เหมือนเดิม กรณีจะไปอยู่พรรคไหน ระหว่าง พลังประชารัฐ หรือรวมไทยสร้างชาติ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้บอกกับนักข่าวว่า หลังประชุมเอเปก 2022 เสร็จ จะประกาศท่าทีทางการเมือง แต่ล่าสุด ยังตีโวหารว่า หลังประชุมเอเปกก็ปีหน้า อย่างนี้ไม่เรียกว่ากลับไปกลับมาหลอกล่อรายวัน หรือเอียงอายไม่กล้าเป็นสมาชิกพรรคการเมือง เพราะกลัวคนขุดคำพูดที่เคยด่านักการเมืองแบบเสียหาย พอวันนี้กลืนน้ำลายที่ถ่มเอาไว้เต็มกลืนใช่หรือไม่ แต่อย่างไรก็ดี สภาพบ้านเมืองที่ประชาชนตกทุกข์ได้ยากมา 8 ปี เป็นประเทศได้นายกรัฐมนตรี ที่ไม่ได้เลือกเข้ามา หาก 3 ป.จะแตกหัก ยุบสภา ลงจากอำนาจ ก็ควรแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 272 ที่ให้อำนาจ ส.ว.โหวตเลือกนายกฯ ก่อนที่ตนเองจะไป จะถือเป็นบุญใหญ่ของประเทศนางสาวตรีชฎา กล่าวทิ้งท้ายว่า จากสัญญาณความแตกหักของ 3 ป. จึงได้เห็นสภาพของคนที่เข้าประชุมสภาในซีกฝั่งรัฐบาล อยู่ในสภาพไร้หลัก บวกกับพรรคร่วมรัฐบาลที่ง่อนแง่นจากความเห็นต่าง เรื่อง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง สภาพยิ่งกว่าบ้านแตกสาแหรกขาด ฝ่ายรัฐบาลขาดเอกภาพ สภาพร้อมล่มทุกเวลา ต้องเตรียมตัวให้พร้อม ได้เวลาทวงคืนอำนาจจาก 3 ป. มาเป็นอำนาจของประชาชนแล้ว

การประชุมเวทีความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ เอเปก (APEC) ครั้งล่าสุดที่กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทย ช่วงระหว่างวันที่ 18-19 พ.ย.นี้ มีประเด็นอะไรที่น่าสนใจและประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพจะได้อะไรจากการประชุมในครั้งนี้ รวมไปจนกระทั่งถึง บทบาทของรัฐบาลไทยภายใต้โลกที่ร้อนระอุจากความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ที่เข้มข้นมากขึ้นทุกที ควรวางตัวอย่างไร ทั้งหมดนี้ มีคำตอบจาก "รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์" นักวิชาการด้านเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ

“พูดกันอย่างตรงไปตรงมา การประชุมเอเปกครั้งล่าสุดที่กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทย อาจไม่ค่อยเป็นที่น่าสนใจเท่าใดนักในสายตาของขาวโลก สาเหตุเป็นเพราะนับตั้งแต่มีการก่อตั้ง APEC เมื่อปี 1989 จนถึงทุกวันนี้ ความร่วมมือในทางเศรษฐกิจอย่างลึกซึ้งยังไปไม่ถึงไหน” รศ.ดร.สมชาย เริ่มต้นการสนทนา กับ ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์
SPONSORED
อย่างไรก็ดีในอีกด้านหนึ่ง หากมองในกรอบของสมาชิกจาก 21 เขตเศรษฐกิจ APEC ยังคงมีความสำคัญโดยเฉพาะสำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอยู่คือ ข้อที่ 1 เป็นอีกหนึ่งตัวเสริมสำคัญเพื่อเพิ่มเติมส่วนที่ขาดในการรวมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกัน และข้อที่ 2 มีการเปิดประเด็นไปสู่การลดอุปสรรคทางด้านการค้า การอำนวยความสะดวกทางด้านการค้า และความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและทางเทคนิค ซึ่งถือเป็นการเพิ่มเติมในประเด็นความร่วมมือเพื่อให้เกิดความเหนียวแน่นมากขึ้นในหมู่ประเทศสมาชิก

สาระสำคัญที่น่าจับตาในการประชุม APEC ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ :
ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพมีความพยายามผลักดัน 3 ประเด็นหลักในการประชุมครั้งนี้ คือ...
1. เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ (Open) หมายถึงการเปิดกว้างทางการค้าและการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ผ่านการขับเคลื่อนเขตการค้าเสรี
2. สร้างการเชื่อมโยงทุกมิติ (Connect) หมายถึง หลังการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 จะมีการฟื้นฟูการเดินทางที่สะดวกและปลอดภัยผ่านการจัดตั้งกลไลการประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่ออำนวยความสะดวกและรื้อฟื้นการเดินทางข้ามพรมแดนในภูมิภาคอย่างปลอดภัยไร้รอยต่อ
3. สร้างสมดุลรอบด้าน (Balance) หมายถึง การส่งเสริมการเจริญเติบโตที่เน้นสร้างสมดุลในทุกด้านมากกว่าสร้างกำไรผ่านการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
โดยในความเห็นส่วนตัวคิดว่าในข้อที่ 3 นี้ เป็นประเด็นที่สำคัญและน่าสนใจมาก เพราะจะมีการพูดถึงคือ 1.การสร้างความสมดุลในเชิงของเพศ ซึ่งจะมีการส่งเสริมสิทธิสตรีผ่านการขับเคลื่อนตามแผนปฏิบัติการลา เซเรนา เพื่อสตรีและการเจริญเติบโตที่ครอบคลุม (La Serena Roadmap for Women and Inclusive Growth)
2. การสร้างสมดุลเรื่องพลังงานหมุนเวียน (Renevable Energy) ซึ่งจะมีการนำโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy) หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว มาปรับใช้เพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็กและสตาร์ทอัพ โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตถรรมมาขับเคลื่อนการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม
3.การสร้างสมดุลด้านความมั่นคงทางอาหาร โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับมหาสมุทรและสิ่งแวดล้อมทางทะเล ซึ่งจะมีส่งเสริมการใช้ข้อมูลและการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาขยะในทะเล
4.การสร้างสมดุลด้านการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการจัดการทรัพยากรป่าไม้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาโลกร้อน ซึ่งในประเด็นนี้ “บราซิล” คงกลายเป็นจุดสนใจไปโดยปริยายเนื่องจากปัจจุบันพื้นที่ป่าอเมซอนซึ่งถือเป็นปอดของชาวโลก หายไปแล้วถึง 1 ใน 4

SPONSORED
สิ่งที่ประเทศไทยจะได้จากการประชุมเอเปก :
1. ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์และส่งเสริมเรื่องการท่องเที่ยวของประเทศไทย
ในความเป็นจริงประเทศไทยอยู่ในฐานะเจ้าภาพการประชุมเอเปกมาตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคมปี 2564 และจะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งภายในช่วงระยะเวลาดังกล่าว มีการจัดประชุมระดับรัฐมนตรีหลายสิบครั้ง ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสที่สำคัญๆอีก 3 ครั้ง และการจัดประชุมย่อยๆอีกหลายร้อยครั้งซึ่งในแต่ละครั้งมีทั้งผู้เข้าร่วมการประชุมและสื่อต่างประเทศเดินทางมายังประเทศไทยหลายพันหลายคน ด้วยเหตุนี้จึงเท่ากับเป็นการช่วยประชาสัมพันธ์ประเทศไทยให้ชาวโลกได้รู้จัก และยังทำให้เกิดการเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆภายในประเทศ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ และ ภูเก็ต อีกด้วย
2. การประชุมนอกกรอบ
ต้องไม่ลืมว่าเมื่อปี 2002 การประชุมนอกกรอบเอเปกที่ประเทศเม็กซิโก ทำให้เกิด ข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership) หรือ TPP ซึ่งปัจจุบันกลายเป็น Comprehensive and Progressive Agreement for Trans-Pacific Partnership หรือ CPTPP มาแล้ว
ฉะนั้น รัฐบาลไทยจึงน่าจะใช้โอกาสในการประชุมนอกกรอบ พูดคุยในระดับทวิภาคีกับประเทศต่างๆเพื่อหารือเรื่องกรอบการส่งเสริมการลงทุน โดยเฉพาะโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC และ ภาคการท่องเที่ยว

SPONSORED
นัยยการเดินทางมาเข้าร่วมการประชุมของผู้นำประเทศ :
“เรื่องนี้หากถามว่ามีไหม ก็คงต้องตอบตรงๆว่า มีครับ”
เหตุใด "ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง" ของจีน จึงเดินทางมาเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้แทบไม่เคยเดินทางออกนอกประเทศเลย ยกเว้นการประชุมสุดยอดองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ ที่ประเทศอุซเบกิสถาน เมื่อช่วงกลางเดือนกันยายนที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะผู้นำจีนต้องการแสดงให้เห็นว่า จีนยินดีที่จะเข้าร่วมประชุมกับกลุ่มประเทศที่เป็นมิตรรวมถึงต้องการแสดงบทบาทของจีนบนเวทีโลก อีกทั้งยังเป็นการแสดงให้เห็นว่าจีนยังคงให้ความสำคัญกับประเทศไทยด้วย
ส่วนหากถามว่าเหตุใด "ประธานาธิบดีโจ ไบเดน" จึงไม่เดินทางมาเข้าร่วมการประชุมเอเปกที่ประเทศไทย ในความเห็นส่วนตัวคิดว่า สาเหตุสำคัญของประเด็นนี้ น่าจะเป็นสหรัฐอเมริกาอาจจะไม่พอใจกับการที่ไทย เลือกที่จะงดออกเสียง มติประณามรัสเซียเรื่องการผนวกดินแดนที่ยึดครองจากยูเครน ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติเมื่อเร็วๆนี้ นอกจากนี้ อาจจะเป็นเพราะก่อนหน้าการประชุมเอเปกที่ประเทศไทยเพียงไม่กี่วัน ผู้นำสหรัฐฯจะได้มีโอกาสพบปะกับบุคคลที่อยากพูดคุยด้วยมากที่สุดในเวลานี้ อย่าง ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ในการประชุม G20 ที่ประเทศอินโดนีเซีย (13-16 พ.ย.) อยู่แล้ว

SPONSORED
เอเปก กับ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ :
“ในความเห็นส่วนตัวคิดว่า ไม่น่าจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงใดๆ เพราะการจะดึงให้สหรัฐฯและรัสเซียมาพูดคุยกันเป็นเรี่องที่แทบเป็นไปไม่ได้เลยในเวลานี้”
ปัญหาสงครามยูเครน หรือ ความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ เป็นเรื่องที่ใหญ่เกินกว่าที่จะใช้เวทีเอเปกในการแก้ไขปัญหา เพราะในเวทีระดับองค์การสหประชาชาติเองก็ยังหาทางแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ได้ยาก
นอกจากนี้ หากมองให้ลึกลงไป เพียงการเจรจาเพื่อทำเขตการค้าเสรีในเอเปก ซึ่งดำเนินความพยายามมาตั้งแต่ปี 1993 จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่ประสบความสำเร็จคืบหน้าไปถึงไหนเลย เพราะการทำให้ทั้ง 21 ประเทศเห็นพ้องต้องกันนั้นไม่ใช่เรื่องที่จะสามารถทำได้โดยง่าย

ความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ กับ บทบาทเจ้าภาพเอเปก :
“เรื่องนี้มี 2 ประเด็น คือ 1.เราวางตัวอย่างไร และ 2.เขามองว่าเราวางตัวอย่างไร ซึ่งหากจะให้มองเห็นภาพนี้ได้อย่างชัดเจน คือ ผมอาจพยายามวางตัวโดยการพูดคุยกับคุณดีมากๆเลย แต่บางทีผมอาจเผลอพูดอะไรไปโดยไม่ทันได้คิด อาจทำให้คุณเริ่มโกรธได้”
ในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีอยู่ 2 เรื่อง คือ 1.ข้อเท็จจริง 2.การยอมรับ ซึ่งหากถามว่ารัฐบาลไทยในเวลากำลังทำอะไร ในแง่ข้อเท็จจริง คือ กำลังพยายามวางตัวในลักษณะที่เป็นกลาง ซึ่งคำว่าเป็นกลางในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงการทิ้งระยะห่าง เพราะหากทิ้งระยะห่างนี้เราตายได้เลย เพราะทั้งสองฝ่ายจะไม่เอาเราแน่ๆ
เพราะฉะนั้น เราจึงวางตัวในลักษณะที่มีความสัมพันธ์กับทางด้านฝ่ายจีนรัสเซีย และทางด้านฝ่ายสหรัฐอเมริกา คือ “พูดง่ายๆว่ากำลังทำดีกับทุกฝ่าย” แต่แน่นอนว่า “การเล่นบททำดีกับทุกฝ่าย” อีกฝ่ายหนึ่งมองอย่างไร “เรื่องนี้คือคำถามที่สำคัญ” เพราะมันย่อมมีความเป็นไปได้ว่าอีกฝ่ายอาจตีความไปในทางตรงกันข้ามได้

และสำหรับในประเด็นนี้น่าจะตรงกับที่ "นายกรัฐมนตรีลี เซียนลุง" ของสิงค์โปร์ ได้เคยเขียนบทความลงในนิตยสาร Foreign Affairs เมื่อ 2 ปีก่อน โดยระบุว่า อาเซียนและสิงค์โปร์กำลังเข้าสู่ภาวะที่ยากลำบากจากความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯและจีน เพราะภายใต้ความขัดแย้งนี้ หากเกิดวางตัวผิดพลาดไปใกล้ชิดอีกฝ่ายมากเกินไป จะต้องถูกเล่นงานจากอีกฝ่ายแน่นอน ซึ่งสำหรับประเทศไทยในเวลานี้ ก็ยังอยู่ภายใต้บริบทนี้เช่นเดียวกัน
เพราะฉะนั้น ไม่เพียงแต่จะวางตัวอย่างไร แต่มันต้องวางตัวแล้วทั้งสองฝ่ายเห็นว่าโอเคแล้วไหมด้วย และนี่คือ “โจทย์ที่ยากพอสมควรสำหรับรัฐบาลไทย” เพราะสถานการณ์ความขัดแย้ง ณ ปัจจุบัน กำลังบีบรัดให้ รัฐบาลไทยวางตัวยากขึ้นทุกทีๆ เพราะจีนเองก็ต้องการที่จะขยายอิทธิพลและมีผลประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับไทยสูงมาก ในขณะที่ฝ่ายสหรัฐฯก็คืออภิมหาอำนาจ “ฉะนั้น ต่อจากนี้เป็นต้นไปในเรื่องของความขัดแย้ง การวางตัวของไทยจะเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและไม่ใช่ง่ายๆเช่นในอดีตอีกต่อไปแล้ว”
ทีมข่าวเฉพาะกิจไทยรัฐออนไลน์ รายงาน
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
“พล.อ.ประยุทธ์” ยังอุบท่าทีการเมือง บอกเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น หลังถูกสื่อบี้ถามเรื่องสมัคร
สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ- นายกฯ คนละครึ่งกับ “บิ๊กป้อม”
เมื่อเวลา 12.15 น. วันที่ 26 ต.ค. 2565
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ปฏิเสธให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ถึงประเด็นทางการเมือง หลังผู้สื่อข่าวถามว่าจะสมัครเข้าเป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐหรือไม่ และคิดอย่างไรกับแนวคิดนายกฯ คนละครึ่งกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ โดย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า “การเมืองผมไม่พูด” พร้อมกับเดินขึ้นไปนั่งในรถจากนั้นผู้สื่อข่าวพยายามถามอีกว่าจะมีความชัดเจนได้เมื่อไหร่ นายกรัฐมนตรีตอบว่า “เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น” พร้อมกับโบกมือส่งสัญญาณให้คนขับรถเคลื่อนรถออก เมื่อถามย้ำอีกว่า คิดว่ามีความจำเป็นต้องสมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองหรือไม่นั้น พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ตอบคำถาม ผู้สื่อข่าวจึงถามอีกว่าแสดงว่าจะสมัครเป็นสมาชิกพรรคใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ หันมาแล้วพูดว่า “ไม่รู้” ก่อนที่ขบวนรถจะเคลื่อนไปยังตึกไทยคู่ฟ้า
{Fullwidth}